ความรู้ทั่วไป
ความรู้ทั่วไป
การใช้งานรอกและเครนอย่างปลอดภัย
รอกและเครน เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมและการก่อสร้างในปัจจุบัน มีจุดประสงค์การใช้งานเพื่อยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของหนัก แต่ก็อาจเป็นอันตรายได้ หากใช้งานไม่ถูกวิธี ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
การใช้รอกและเครนไฟฟ้า
-ตรวจสอบรอกและเครนอย่างสม่ำเสมอ
-เลือกรอกที่เหมาะกับงาน มีทั้งรอกโซ่ไฟฟ้าและรอกสลิงไฟฟ้า
-เลือกใช้อุปกรณ์ช่วยยกให้แข็งแรงเหมาะสม
-อ่านคู่มือแนะนำของผู้ผลิต ก่อนปฏิบัติงานใช้รอกและเครน
-ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรอกและเครนต้องผ่านการอบรม 4ผู้ ผู้ควบคุม ,ผู้บังคับ ,ผู้ยึดเกาะและผู้ให้สัญญาณ
-ห้ามใช้งานเกินพิกัดน้ำหนักรอกและเครน
-ห้ามใช้งานรอกและเครนที่ชำรุด
-ห้ามใช้รอกและเครนในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง
ในกรณีที่มีการติดตั้งหรือใช้ปั้นจั่นใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า นายจ้างต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ใช้ปั้นจั่นยกวัสดุ ให้มีระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้ากับส่วนหนึ่งส่วนใดของปั้นจั่นหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของวัสดุที่ปั้นจั่นกำลังยก ดังต่อไปนี้
(ก) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 69 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.1 เมตร
(ข) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 69 กิโลโวลต์ แต่ไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.3 เมตร
(ค) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 115 กิโลโวลต์ แต่ไม่เกิน 230 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
(ง) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 230 กิโลโวลต์ แต่ไม่เกิน 500 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
(2) ในกรณีที่เคลื่อนย้ายปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่โดยไม่ยกวัสดุและไม่ลดแขนปั้นจั่นลงให้มีระยะห่าง ระหว่างสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า กับส่วนหนึ่งส่วนใดของปั้นจั่น ดังต่อไปนี้
(ก) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 69 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 1.3 เมตร
(ข) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 69 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 230 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
(ค) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 230 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 500 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตาม (1) และ (2) ได้ นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เพียงพอและได้รับการอนุญาตจากการไฟฟ้าประจำท้องถิ่นที่รับผิดชอบสายไฟฟ้านั้นก่อนการดำเนินการ
อาร์คิมีดีส : Archimedes
เกิด 287 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)
เสียชีวิต 212 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)
ผลงาน - กฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) ที่กล่าวว่า "ปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในน้ำย่อมเท่ากับปริมาตร
ของน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ" ซึ่งกฎข้อนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ
- ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง ได้แก่ คานดีดคานงัด รอก ระหัดวิดน้ำ และล้อกับเพลา
- อาวุธสงคราม ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน กระจกเว้ารวมแสง และเครื่องปล่อยท่อนไม้
เมื่อเอ่ยชื่ออาร์คิมีดีส ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักนามของนักวิทยาศาสตร์เอกผู้นี้ โดยเฉพาะกฎเกี่ยวกับการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ หรือการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมงกุฎทองของกษัตริย์เฮียโร (King Hiero) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ และการค้นพบของเขาในเรื่องอื่น เช่น ระหัดวิดน้ำ คานดีดคานงัด ล้อกับเพลา เป็นต้น อาร์คิมีดีสขึ้นชื่อว่าเป็นบิดา แห่งกลศาสตร์ที่แท้จริงเนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของเขามักจะเป็นเครื่องผ่อนแรงที่มีประโยชน์และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
วิศวกรชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้น เครื่องกว้านหรือเครนไฮดรอลิกอาร์มสตรอง เมื่อปี 1888
ในปีพ. ศ. 2388 ได้มีการดำเนินโครงการเพื่อจัดหาน้ำจากแหล่งกักเก็บที่อยู่ห่างไกลไปยังครัวเรือนในเมืองนิวคาสเซิล อาร์มสตรองมีส่วนร่วมในโครงการนี้และเขาเสนอให้ บริษัท นิวคาสเซิลคอร์ปอเรชั่นว่าแรงดันน้ำส่วนเกินในตอนล่างของเมืองสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนเครนริมท่าเรือที่ดัดแปลงมาโดยเฉพาะ เขาอ้างว่าเครนไฮดรอลิกของเขาสามารถขนถ่ายเรือได้เร็วและถูกกว่าเครนทั่วไป คอร์ปอเรชั่นเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของเขาและการทดลองได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จอย่างมากโดยมีการติดตั้งเครนไฮดรอลิก เริ่มใช้งานมาจนทุกวันนี้
เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นไดนาโมในปี ค.ศ. 1821
ไมเคิล ฟาราเดย์ได้ทดลองใช้ลวดขดเป็นวงหลายรอบแบบที่เราเรียกว่าคอยด์ โดยต่อปลายทั้งสองของขดลวดเข้ากับกัลวานอมิเตอร์ และทดลองสอดแท่งแม่เหล็กเข้าไปในระหว่างขดลวด พบว่า กัลวานอมิเตอร์กระดิกไปข้างหนึ่ง และพอแม่เหล็กหยุดนิ่ง เข็มก็เบนกลับที่เดิม พอเขาดึงแท่งแม่เหล็กออก เข็มก็เบนไปอีกทางหนึ่ง ตรงข้ามกับตอนแรก แล้วหยุดนิ่ง เขาพบว่า ไฟฟ้าเกิดจากการที่เส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวด เขาจึงเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induced current) ซึ่งเขาพบว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ตัดกันของสนามแม่เหล็กกับขดลวดเท่านั้น ถ้าหยุดเคลื่อนที่กระแสไฟฟ้าก็หายไป เขาจึงมีแนวคิดที่จะให้กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา จึงหมุนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กตลอดเวลา เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าไดนาโมในเวลาต่อมา ดังรูป.
รถเฮี๊ยบ(Hiab) คือรถบรรทุกที่ติดตั้งเครนสำหรับยกสิ่งของซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการแตกต่างกันออกไปเช่น Boom Truck(USA) , Truck Loader Crane(Japan) , Vehicle Loading(Australia)
ประวัติรถเฮี๊ยบ
เฮี๊ยบ(Hiab) มาจากยี่ห้อของเครนยี่ห้อแรกๆที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย และนิสัยของคนไทยจะชอบเรียกชื่อยี่ห้อแทนสิ่งนั้นเหมือนเราเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่ามาม่านั่นเอง Hiab คือชื่อประจำสินค้าของบริษัท Hydraliska Industri AB อยู่ที่เมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในสวีเดน